Google Earthดูภาพถ่าย

Google Earthดูภาพถ่าย โปรแกรมดูภาพถ่ายทางอากาศแผนที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเดินทาง ยิ่งเทคโนโลยีเชื่อมต่อให้โลกดูง่ายขึ้นที่ย่อโลกไว้อยู่ในจอสมาร์โฟน ย่อโลกไว้ให้เสมือนมีแผนที่จำนวนนับล้าน ๆ ชิ้นในสัดส่วนที่ต่างกัน และเรากำลังพูดถึง Google Earth ที่เป็นเพียงซอฟต์แวร์บริการหนึ่งของ Google ที่เปิดให้ใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
Google Earth คืออะไร
กูเกิ้ลเอิร์ธ (Google Earth) คือ โปรแกรมที่ถูกสร้างและพัฒนาโดยบริษัท กูเกิ้ล จำกัด (Google) เพื่อดูภาพถ่ายทางอากาศที่แม่นยำที่สุด พูดง่ายๆเหมือนเราสามารถเหาะเหินเดินอากาศไปที่ไหนก็ได้บนโลก ซึ่งโปรแกรมนี้ปัจจุบันถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนสามารถเก็บข้อมูลเกือบ 100% โดยการทำงานของ Google Earth จะทำงานในรูปแบบ Client Server และใครก็สามารถเข้าไปทดลองเล่นหรือนำไปพัฒนาในด้านต่างๆฟรี
จุดเด่นของ Google Earth
คือแผนที่ที่เกิดจากภาพถ่ายจากหลากหลายข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม นำมาผสานและนำเสนอผ่านระบบเทคโนโลยี Streaming พร้อมทำการเชื่อมข้อมูลในมิติต่าง ๆ มาซ้อนทับภาพถ่าย แต่ละชั้นจะแสดงรายละเอียดต่าง ๆ กัน
Google Earth ทำงานอย่างไร
เป็นการทำงานแบบ Client-Server โดยส่วนที่ใช้ควบคุมและแสดงผล เรีรยกว่าโปรแกรม Google Earth Client การใช้งานต้องทำการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตด้วย เพื่อได้ดึงภาพที่อยู่บนเซิฟเวอร์ของกูเกิลมาแสดงผล
ทั้งนี้โปรแกรม Google Earth ไม่ได้เก็บไฟล์ภาพไว้ในโปรแกรม แต่ทำหน้าที่อ่านค่าพิกัด ละติจูด ลองจิจูด ที่ผู้ใช้ต้องการดูภาพ จากนั้นโปรแกรมจะทำการเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ เพื่อทำการดาวน์โหลดไฟล์ภาพแผนที่ขึ้นแสดงผลอย่างทันที โดยจะแสดงผลตำแหน่งของสถานที่ที่ปรากฏในโปรแกรมนั้นมีเพียงหลัก ๆ เช่น ชื่อประเทศ ชื่อเมือง จังหวัด รัฐ โดยเน้นที่สหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
โปรแกรม Google Earth
การจะเข้าถึง Google Earth ได้ต้องผ่านโปรแกรม Google Earth เพื่อดูภาพถ่ายดาวเทียม โดยการเข้าไปต้องดาวน์โหลดมาติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณก่อน โดยลักษณะการใช้งานของโปรแกรม ถือว่าถูกออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย ไม่มีความยุ่งยากหรือซับซ้อนอะไร ดังนี้ บอลคู่เด็ด วิเคราะห์บอล
- เมนูคำสั่ง : เป็นเมนูที่เกี่ยวกับคำสั่งของโปรแกรมทั้งหมด
- Tab Fly To, Local Search, Direction : ใช้ในการค้นหาสถานที่ โดยระบุเงื่อนไขเมื่อคลิกแต่ละแท๊บ
- Places : แสดงเกี่ยวกับไฟล์แผนที่ที่ได้เปิดขึ้น นำเสนอในลักษณะโครงสร้างแบบลำดับชั้น ซึ่งสามารถคลิกเครื่องหมายถูกเพื่อเลือกดูได้
- Layers : เลเยอร์ เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของโปรแกรมจัดการแผนที่ที่มีความสำคัญที่ต้องมีไว้ ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้ผู้ใช้เลือกจุดที่สนใจดูเท่านั้น
- แผงควบคุม : ทำหน้าที่ควบคุมการดูแผนที่ในมิติต่าง ๆ เช่น เงื่อนซ้ายขวา ซูมเข้า ซูมออก ปรับมุมก้มเงย หมุนภาพ
- แผนที่ : ส่วนที่ใหญ่ที่สุดโดยจะแสดงแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม
ฟีเจอร์ใหม่ที่ Google Earth ทำได้บนสมาร์ทโฟน
- แผนที่แบบ 3D มากขึ้น โดยจะปรากฏสถานที่จริงอยู่ตรงหน้า ที่มีฟีเจอร์ด้าน 3D ที่แสดงสถานที่เพิ่มมากขึ้น และกดแชร์ความประทับใจในรูปแบบโปสการ์ด ดิจิทัลได้
- Vovager การแนะนำสถานที่ที่น่าสนใจต่าง ๆ บนโลกใบนี้
- ปุ่ม I’m feeling lucky กดแล้ว จะมีการแนะนำสถานที่ที่น่าสนใจมาให้เราแบบสุ่ม
- Earth View จะพบกับความสวยงามของโลกแบบแปลกตาผ่านกว่า 1,500 ภาพ
- Google Earth – Vovage – History – Lost Civilizations และฟีเจอร์ภาพอดีตหรืออารยธรรมที่หายไป ทำให้สามารถย้อนเวลากลับไปดูเรื่องราวบนโลกใบนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างน่าอัศจรรย์
ประโยชน์ของ Google Earth
- ค้นหาสถานที่ เราสามารถใช้ Google Earth ในการค้นหาสถานที่ต่าง ๆ บนโลกนี้ได้อย่างง่ายดาย ภาพที่ได้นั้นจะเป็นแบบ 3 มิติ
- ค้นหาเส้นทางการเดินรถ เราสามารถกำหนดจุดเริ่มต้นและปลายทางที่ต้องการไป เพียงเท่านี้ก็สามารถหาเส้นทางการเดินรถได้แล้ว เพื่อเตรียมตัวการเดินทางได้ถูกต้องทุกเส้นทาง
- วางแผนการท่องเที่ยว เราสามารถวางแผนการท่องเที่ยวได้ก่อนล่วงหน้า โดยใช้ Google Earth ในการค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม หรือ แหล่งช้อปปิ้ง
- การประยุกต์ใช้เช่น ค้นหาตำแหน่งของบุคคลผ่านเทคโนโลยี GPS, วัดขนาดพื้นที่ของสถานที่สำคัญ
- กำหนดรายละเอียดสถานที่ของเราเอง และนำไปอัพเดทข้อมูลบน Google Earth
ข้อจำกัดของ Google Earth
ข้อจำกัดของ Google Earth ก็มีเพียงแต่ต้องมี Internet ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเท่านั้น เพราะรูปถ่ายจากดาวเทียมจะถูกส่งมาทาง Internet ในช่วงที่เราเลือกกดดูส่วนต่าง ๆ ของโลก
Google Earth แผนที่ดิจิทัลที่นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ช่วยในการหาสถานที่ต่าง ๆ บนโลกใบนี้ได้อย่างลงตัว มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพอย่างมากเหมาะสำหรับนักเดินทางที่ต้องการหาจุดหมายปลายทาง ค้นคว้าสิ่งใหม่ ๆ มีความสะดวกสบาย ไม่หลงทิศหลงทางด้วยประสิทธิภาพของ Google Earth ซอฟต์แวร์ระดับโลกที่ช่วยให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด
ข้อดีมีของดีใช้อีกเเล้ว ข้อเสีย อิฉฉา google ทำมันเก่งอย่างนี้ กูเกิลเสริมแกร่ง “Google Maps” กูเกิลเสริมแกร่งบริการตระกูลแผนที่ 3 จุดในกูเกิลแมปส์ (Google Maps) และกูเกิลเอิร์ธ (Google Earth) ไฉไลกว่าเดิม นักวิเคราะห์เชื่อบริการแผนที่ยุคใหม่ของกูเกิลจะจุดไฟแข่งขันระหว่างสินค้าไอโอเอสกับแอนดรอยด์ให้แข่งขันกันดุเดือดยิ่งขึ้น เพราะการจัดงานนี้เกิดขึ้นเพียง 5 วันก่อนงานประชุมที่คาดว่าแอปเปิลจะเปิดบริการแผนที่ใหม่เพื่อติดตั้งในไอโฟน ไอแพด และไอพอด แทนกูเกิลแมปส์ที่เคยติดตั้งมาตลอด นักวิเคราะห์มองว่ากูเกิล (Google) กำลังพยายามควบคุมอิทธิพลในตลาดแผนที่บนอุปกรณ์พกพาด้วยการพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้บริการตัวเอง โดยพยายามสร้างประโยชน์และความสนุกสนานในการใช้งานเพิ่มขึ้น สิ่งที่กูเกิลทำในวันนี้คือการขยายความสามารถบริการในเชิงพื้นที่ และการทำงานในสภาวะจำกัดได้อย่างยืดหยุ่นกว่าเดิม การเสริมแกร่งจุดแรกที่กูเกิลเปิดตัวคือกูเกิลเอิร์ธ ซึ่งปัจจุบันแสดงภาพ 3 มิติเฉพาะภาพอาคารบางอาคารเท่านั้น จุดนี้กูเกิลระบุว่าจะแสดงภาพ 3 มิติในเขตเมืองหลายพื้นที่เพิ่มขึ้น (ยังไม่เปิดเผยชื่อเมือง) โดยปรับปรุงการสร้างภาพ 3 มิติใหม่ด้วยเทคโนโลยีประมวลผลจากภาพถ่ายซึ่งได้จากกล้องดิจิตอลติดเครื่องบิน ตัวเครื่องจะบินและถ่ายภาพมุม 45 องศาจากหลายทิศทางก่อนจะนำมาเรียงทับซ้อนกันและประมวลผลโดยไม่ต้องใช้แรงงานคน จุดที่ 2 อยู่ในส่วนสตรีทวิว (Street View) บริการแผนที่แบบเห็นภาพถ่ายจริงซึ่งเริ่มเปิดให้ใช้งานในประเทศไทยแล้ว จุดนี้กูเกิลแถลงว่าได้เพิ่มวิธีการเก็บภาพในระบบสตรีทวิวชนิดใหม่ ด้วยการติดกล้องซึ่งถ่ายภาพได้ 360 องศาเข้ากับทีมงาน เสริมจากการนำกล้องไปติดในรถยนต์เพื่อเก็บภาพในพื้นที่ที่ไม่มีถนนตัดผ่านจุดที่ 3 คือความสามารถในการใช้งานออฟไลน์ กูเกิลระบุว่ากำลังพัฒนาให้บริการกูเกิลแมปส์สามารถทำงานบนอุปกรณ์ที่ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เชื่อว่าจะสามารถเป็นประโยชน์ให้ผู้ใช้ที่อยู่ในพื้นที่อับสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันกูเกิลแมปส์ทำงานได้เฉพาะบนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วเท่านั้น
จุดนี้กูเกิลระบุว่า แม้เครื่องจะไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่ผู้ใช้จะสามารถค้นหาสถานที่ รวมถึงย่อ-ขยายภาพแผนที่ที่ต้องการดาวน์โหลดมาเก็บไว้ในเครื่อง พื้นที่สูงสุดที่สามารถดาวน์โหลดมาเก็บไว้ได้คือ 10 ตารางไมล์ (ราว 25.89 ตารางกิโลเมตร) ทั้งหมดจะเริ่มเปิดให้ชาวดิจิตอลใช้งานเร็วๆ นี้ แม้การปรับปรุงเหล่านี้ของกูเกิลจะไม่ใช่ข่าวใหม่ แต่สื่อมวลชนอเมริกันนั้นให้ความสนใจต่องานแถลงข่าวซึ่งกูเกิลจัดขึ้นที่ซานฟรานซิสโกอย่างมาก เนื่องจากบริการแผนที่ในอุปกรณ์พกพานั้นถูกมองว่าจะเป็นสมรภูมิหลักที่กูเกิลและแอปเปิลจะแข่งขันกันเต็มที่ในอนาคต ท่ามกลางผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต รวมถึงนักพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีจำนวนหลายล้านคนทั่วโลก สิ่งที่สามารถสรุปได้จากงานนี้คือ กูเกิลมีการลงทุนในบริการแผนที่อย่างต่อเนื่อง และพยายามหยั่งรากในบริการแผนที่ดิจิตอลให้ลึกกว่าเดิม แม้ปัจจุบันผู้บริโภคและนักพัฒนาจะผูกติดตัวเองกับกูเกิลแมปส์แล้ว เช่นการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้แผนที่ของกูเกิลแมปส์ในการแสดงตำแหน่งร้านอาหารหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่ยืนอยู่ แต่เพราะข่าวลือที่หนาหูเหลือเกินว่าแอปเปิลซึ่งพรีโหลดหรือติดตั้งโปรแกรมกูเกิลแมปส์ให้ไอโฟนและไอพอดมาตั้งแต่ออกจากโรงงานนั้นกำลังเปลี่ยนใจมาใช้บริการแผนที่ของตัวเอง ข่าวลือวงในเชื่อว่าบริการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการใหม่ที่แอปเปิลจะเปิดตัวในงานประชุมนักพัฒนาที่จะจัดขึ้นช่วงสัปดาห์หน้า ซึ่งแอปเปิลจะเปิดให้นักพัฒนานำบริการแผนที่ของแอปเปิลมาใช้ในแอปพลิเคชันสำหรับไอโฟนแทนกูเกิลแมปส์ นักวิเคราะห์มองว่า ศึกใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นนับจากนี้คือการแข่งขันกันระหว่างกูเกิลกับแอปเปิลว่าใครจะสามารถพัฒนา “next killer feature” หรือคุณสมบัติใหม่สุดร้อนแรงในโมบายล์แพลตฟอร์มของทั้งคู่ได้ดีกว่ากัน โดยโรบิน เทิร์สตัน (Robin Thurston) ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท MapMyFitness Inc. ซึ่งพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับให้ผู้ใช้แบ่งปันตำแหน่งสถานที่เล่นกีฬาของตัวเองแก่เพื่อน ระบุว่า หากแอปเปิลเปิดตัวบริการแผนที่ของตัวเองจริง บริษัทก็จะพัฒนาให้รองรับระบบของแอปเปิลแม้จะพัฒนาให้รองรับกูเกิลแมปส์อยู่ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม กูเกิลย้ำว่าคุณสมบัติทั้งหมดจะสามารถใช้งานบนอุปกรณ์แอนดรอยด์และไอโอเอสได้อย่างเท่าเทียม
อ่านเพิ่มเติม Solo Leveling รีวิวก่อนซื้อ วิธีแปลภาษาอังกฤษให้เก่ง วิธีพยากรณ์อากาศ Jokergame Joker Gamimg pg slot สล็อต
อัพเดทล่าสุด : 20 สิงหาคม 2021